Domo-kun Cute

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


สหประชาชาติ


     สหประชาชาติ เป็นองค์กรระหว่างประเทศ เลขาธิการคนปัจจุบันคือ นาย ปัน กี มุน ชาวเกาหลีใต้ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ต่อจาก นายโคฟี อันนัน
          สหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง 
  สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ

กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

ห้องประชุมสมัชชาสหประชาชาติ


ข้อควรรู้เมื่อเกิดแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหว

ช่วงไม่กี่ปีหลังมานี้ เรามักจะได้ยินข่าวการเกิดแผ่นดินไหวในแถบประเทศเพื่อนบ้านบ่อยครั้งขึ้น ทำให้คนไทยเริ่มตื่นตัวกับเรื่องแผ่นดินไหวมากขึ้น และโดยเฉพาะในรอบประเทศไทยเองก็มีแนวรอยเลื่อนที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ รวม 3 จุด ฉะนั้นแล้ว ณ วันนี้ เราก็ควรทำความรู้จักกับเรื่องแผ่นดินไหวให้มากขึ้น รวมทั้งวิธีเตรียมการรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตอ่านเพิ่มเติม...

สิทธิมนุษยชน

คือ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ  แห่งราชอาณาจักรไทย       
   สิทธิ   หมายถึง  ประโยชน์หรืออำนาจที่บุคคลพึงได้รับตามกฎหมาย  
   เสรีภาพ  หมายถึง  ความเป็นอิสระของบุคคลล    ที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ภายใต้ขอบเขตของ กฎหมาย ความเสมอภาค หมายถึง ความเท่าเทียมกันระหว่างบุคคล  การรับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย หมายความว่า  กฎหมายของไทยจะให้หลักประกันในเรื่องของการปฏิบัติของบุคคล ในเรื่อง ศักดิ์ศรีความเป้นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคล   การรับรองหรือ คุ้มครองตาม สนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญา หมายถึง ข้อตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ทำขึ้นเป็นหนังสือกับประเทศต่างๆ หรือระหว่างองค์การระหว่างประเทศอ่านเพิ่มเติม>>

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ประวัติสหกรณ์สากล

บิดาสหกรณ์โลก
สหกรณ์ถือกำเนิดขึ้นในยุโรปในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมที่ต้องใช้ที่ดินจำนวนมาก การกว้านซื้อที่ดินส่งผล ให้ประชาชนชั้นรากฐานไร้ที่ดินทำกิน ละทิ้งถิ่นฐานเข้าไปขายแรงงานในเมืองหลวง ความยากจนยิ่งโหมกระหน่ำ จากสังคมที่เคยเกื้อกูลดังเช่นในชนบทได้จางหายไปทุกคนต้องต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอด ถึงกระนั้นความพยายามแสวงหาวิธี สร้างสังคมใหม่ควบคู่กันไปกับระบบเศรษฐกิจที่ ยั่งยืนได้ใช้เวลาเนิ่นนานจึงคิดค้นวิธีการได้สำเร็จ เรียกว่า" การสหกรณ์ " และถือว่า โรเบิร์ด โอเวน เป็นบิดาสหกรณ์โลกอ่านเพิ่มเติม...

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ภัยธรรมชาติ

เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ หรือมนุษย์ได้ทำให้มันเกิดขึ้นมา ภัยธรรมชาติมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปบางอย่างร้ายแรงน้อย บางอย่างร้ายแรงมากซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การเกิดอุทกภัยหรือน้ำท่วม การเกิดพายุ การเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติต่างๆไม่ว่าจะร้ายแรงมากหรือน้อยก็เกิดขึ้นได้ทุกเวลาโดยที่มนุษย์ไม่ได้ตั้งตัว แบ่งเป็น 8 ประเภท

เดือน
ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ
กุมภาพันธ์
ไฟป่า
มีนาคม
พายุฤดูร้อน , ไฟป่า , ฝนแล้ง
เมษายน
พายุฤดูร้อน , ไฟป่า , ฝนแล้ง
พฤษภาคม
พายุฤดูร้อน , อุทกภัย
มิถุนายน
อุทกภัย , ฝนทิ้งช่วง
กรกฎาคม
ฝนทิ้งช่วง , พายุฝนฟ้าคะนอง ,พายุหมุนเขตร้อน , อุทกภัย
สิงหาคม
พายุหมุนเขตร้อน , อุทกภัย , พายุฝนฟ้าคะนอง
กันยายน
พายุหมุนเขตร้อน , อุทกภัย , พายุฝนฟ้าคะนอง

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คุณธรรมจริยธรรม

คุณธรรมจริยธรรมคืออะไร?

...คุรธรรมเป็นสภาวะความรู้สึกในจิตใจของมนุษย์ที่เป้นไปในทางที่ถูกต้อง
...จริยธรรมเป็นพฤติกรรมหรือการแสดงออกที่ถูกต้องตามกฏเกณฑ์
...ดังนั้นคุณธรรมจริยธรรมจึงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต ของมนุษย์เพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมจึงจำเป็นต้องกระทำอย่างจริงจังและต่อเนื่องจน เป็นนิสัยของแต่ละบุคคล

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อาเซียนคืออะไร


               ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้งแต่หากท่านหมายถึง “AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” 
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)
โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย
     1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
     2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการ  แห่งชาติมาเลเซีย
     3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
     4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ 
     5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย
หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอวเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่ม เติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่
-บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527
-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538
-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
-สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540
-ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542
              วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
       ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้า ระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ